วันศุกร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2555

บทความ2

ปากิหาิิิิิริย์แห่งความทุกข์Image
ปาฏิหาริย์แห่งความทุกข์

เรื่อง :ฐิตินาถ ณ พัทลุง thelifecompass@yahoo.com
ถึงคุณฐิตินาถ ณ พัทลุง
ตอนนี้ชีวิตพังหมดแล้ว มีคนเอาหนังสือ"เข็มทิศชีวิต"กับคอลัมน์ตอบจดหมายของคุณใน IMAGE   มาให้อ่าน แต่ความทุกข์มันผลาญใจจนกินไม่ได้นอนไม่หลับ วันนี้ไม่เหลืออะไรเลย ทั้งธุรกิจ งาน เงิน ครอบครัว พริบตาเดียวไม่เหลืออะไร เหมือนที่คุณเขียนไว้ในหนังสือจริงๆ
คนที่เคยมีทุกอย่างสมบูรณ์ในชีวิตแล้ววันหนึ่งไม่เหลืออะไร ควรเริ่มต้นใหม่ตรงไหนดี

สวัสดีค่ะ
ความจริงแล้ว ความทุกข์เป็นของขวัญที่ธรรมชาติมอบให้กับทุกชีวิต ในวันที่เราหลงเพลิดเพลินไปกับภาพมายาของความสุขในชีวิต ความทุกข์ก็จะมาเยี่ยมเยียน เตือนให้เรารู้ว่าทุกอย่างเป็นภาพมายา เป็นภาพหลอกหลอกเหมือนหมอกควัน ที่วินาทีหนึ่งก็อยู่ใกล้มือ แต่อีกวินาทีหนึ่งก็ไม่เหลืออะไรเลย
ความทุกข์เป็นเพื่อนที่ดีที่สุดของมนุษย์ คอยเตือนให้เราไม่ประมาทกับชีวิต คอยให้บทเรียนว่าเราสามารถหาวัตถุ สิ่งของ คน ความรัก ความสุขมาเติมใส่ชีวิตได้เพียงชั่วคราว ทุกอย่างแปรปรวนไม่เป็นอย่างที่เราคาดหวัง เปลี่ยนแปลงพลิกผันได้ภายในพริบตา
ทุกครั้งที่เราเจอความทุกข์ เราเหมือนยืนอยู่บนทางสองแพร่ง ทางหนึ่งจะพาชีวิตเราวิ่งไปสู่สิ่งที่ดีที่สุดที่เราคาดไม่ถึง ในขณะที่อีกทางหนึ่งก็พาเราวิ่งไปสู่ความหายนะของชีวิต แล้วเราจะเลือกทางเดินที่ถูกต้องได้อย่างไร
คำตอบที่ถูกต้องสำเร็จรูปไม่มีในชีวิต ไม่มีเฉลยคำตอบให้แอบดูเพื่อเดินให้ถูกทาง ชีวิตเป็นสิ่งที่ Dynamic ทำเหตุแบบนี้ผลจะเป็นแบบหนึ่ง ทำเหตุอีกแบบผลก็เป็นอีกแบบ ปัจจัยแวดล้อม เหตุ การกระทำต่างๆ มีผลมากมาย
มนุษย์ทุกคนมีสติปัญญาเป็นอาวุธ แต่สติปัญญาไม่ใช่คำหลอกๆ ที่พูดกันเกลื่อนไป สติเป็นความระลึกได้ ระลึกได้ว่าขณะนี้กำลังปล่อยใจให้หลงไปกับความคิด ความรู้สึก ทันทีที่สติเฉลียวย้อนกลับมาเห็นใจที่กำลังหลง ใจจะหลุดออกมาจากโลกของความคิด เป็นใจที่ตื่น รู้เนื้อ รู้ตัว สะอาด สงบ สว่าง ตั้งมั่น มั่นคง เห็นสิ่งต่างๆ ตามความเป็นจริง ไม่ถูกครอบงำด้วยอารมณ์ความรู้สึก ถอดถอนตัวเองออกจากปัญหา มองสถานการณ์ที่เกิดขึ้นเหมือนคนวงนอกมองเข้ามา เลือกการกระทำแต่ละขณะได้ถูกต้องและเหมาะสม พอดี
การฝึกให้มีสติจริงๆ เรียบง่ายธรรมดาอยู่ในชีวิตประจำวันของเรานี่เอง เพียงแค่คอยหมั่นตามรู้ใจที่ไหลไปรู้สึกนึกคิด เดี๋ยวก็ไหลไปดู ไปฟัง ไปคิด สลับไปมาอยู่ทุกวินาที พอเห็นมากเข้ามากเข้า เวลาใจไหลไป สติจะเกิดระลึกขึ้นได้เอง
ว่าขณะนั้นหลงไปแล้ว ใจก็จะรู้สึกตัว"ตื่น" เห็นความคิด ความทุกข์ ความรู้สึก ทุกอย่างเป็นของชั่วคราว ไม่มีน้ำหนัก ไม่มีสาระอะไร ที่มีความทุกข์ได้ก็เพราะใจหลงไปแบกไว้เท่านั้นเอง อะไรที่เกิดขึ้นแล้ว จบลงไปแล้ว ใจของเรานี่แหละ หยิบฉวยความคิดเป็นมีดมาทิ่มแทงตัวเองซ้ำแล้วซ้ำอีก ไม่รู้จักจบไม่รู้จักวาง
ในชีวิตคน ไม่มีใครไม่เคยพลาด ถึงแม้จะพยายามแค่ไหน กิเลสก็เหนือกว่าเราก้าวหนึ่งเสมอ ไม่อย่างนั้นก็คงไม่สามารถผูกเราไว้ให้เวียนเกิดเวียนตายในสังสารวัฏได้ยาวนาน
ใช้ความทุกข์เป็นของขวัญ เป็นจุดเริ่มต้นของปาฏิหาริย์ที่แท้จริงในชีวิต มีความรู้สึกตัวเป็นเพื่อนเดินทาง นำชีวิตสู่ความสุขที่เป็นอิสระ มั่นคงอย่างแท้จริง
เรามีความแก่เป็นธรรมดา จะล่วงพ้นความแก่ไปไม่ได้
เรามีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา จะล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปไม่ได้
เรามีความตายเป็นธรรมดา จะล่วงพ้นความตายไปไม่ได้
เราจะละเว้นเป็นต่างๆ คือว่าเราจะต้องพลัดพรากจากของรักของเจริญใจทั้งหลายทั้งปวง
เรามีกรรมเป็นของของตน มีกรรมเป็นผู้ให้ผล
มีกรรมเป็นแดนเกิด มีกรรมเป็นผู้ติดตาม มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย
เราทำกรรมอันใดไว้ เป็นบุญหรือเป็นบาป เราจะเป็นทายาท
คือว่าเราจะต้องได้รับผลของกรรมนั้นๆ สืบไป
เราทั้งหลายควรพิจารณาอย่างนี้ทุกๆ วัน เถิด*

บทความ1



 
Image
เรียงความเรื่อง แม่
แม่ เป็นภาระให้แก่ลูกทุกคนมาตั้งแต่เกิด นั่นเป็นความจริงที่เราไม่อาจจะปฏิเสธได้ ก็ลองคิดดูสิ ตั้งแต่เราเกิดมา ยังไม่เคยเห็นหน้าค่าตากันเลย อยู่ดีๆ ผู้หญิงคนนี้ก็มาโอบอุ้ม ถูกเนื้อต้องตัวเรา มิวายที่เราจะแหกปากร้องไห้ขับไล่ไสส่งยายผู้หญิงคนนี้ขนาดไหน เธอก็ยังพยายามปลอบโยน เห่กล่อมเราอยู่นั่นแหละ เป็นภาระให้เราต้องจำใจเงียบ ยอมนอนดูดนมเธออยู่จั่บๆๆ
พอเราเริ่มเตาะแตะ ตั้งไข่จะเดินไปไหนต่อไหนมั่ง คุณเธอก็ยังคอยเรียกหาเราอยู่นั่นแหละ

"มานี่มาลูก มานี่มา อีกนิดเดียวลูก อีกนิดเดียว อีกก้าวเดียว "ไม่รู้จะเรียกทำไมนักหนา ไอ้เราก็เดินล้มลุกคลุกคลานอยู่ เห็นมั้ย เป็นภาระที่เราต้องเดินไปให้เธอกอดอีก
โตขึ้นมาอีกนิด เราเริ่มกินอาหารได้ หล่อนก็เอาอะไรนักหนาไม่รู้ เละๆ เทะๆ มาบดให้เรากิน ไอ้เราจะไม่กินก็ไม่ได้ เดี๋ยวแม่จะน้อยใจ ก็เอาวะ เอาซะหน่อย เคี้ยวไปเเจ่บๆ อย่างนั้นแหละ แม่คุณก็ยิ้มปลื้ม คงนึกว่าเราอร่อยตายล่ะมั้งนั่นน่ะ กล้วยบดนะจ๊ะ เธอจ๋า ในปากฉันตอนนี้น่ะ ถ้าคิดว่ามันอร่อยขนาดนั้น ทำไมไม่ลองทานเองดูมั่งล่ะ

โตขึ้นมาอีกนิด เราเริ่มกินอาหารได้ หล่อนก็เอาอะไรนักหนาไม่รู้ เละๆ เทะๆ มาบดให้เรากิน ไอ้เราจะไม่กินก็ไม่ได้ เดี๋ยวแม่จะน้อยใจ ก็เอาวะ เอาซะหน่อย เคี้ยวไปเเจ่บๆ อย่างนั้นแหละ แม่คุณก็ยิ้มปลื้ม คงนึกว่าเราอร่อยตายล่ะมั้งนั่นน่ะ กล้วยบดนะจ๊ะ เธอจ๋า ในปากฉันตอนนี้น่ะ ถ้าคิดว่ามันอร่อยขนาดนั้น ทำไมไม่ลองทานเองดูมั่งล่ะ

โตขึ้นมาอีกนิด เราเริ่มกินอาหารได้ หล่อนก็เอาอะไรนักหนาไม่รู้ เละๆ เทะๆ มาบดให้เรากิน ไอ้เราจะไม่กินก็ไม่ได้ เดี๋ยวแม่จะน้อยใจ ก็เอาวะ เอาซะหน่อย เคี้ยวไปเเจ่บๆ อย่างนั้นแหละ แม่คุณก็ยิ้มปลื้ม คงนึกว่าเราอร่อยตายล่ะมั้งนั่นน่ะ กล้วยบดนะจ๊ะ เธอจ๋า ในปากฉันตอนนี้น่ะ ถ้าคิดว่ามันอร่อยขนาดนั้น ทำไมไม่ลองทานเองดูมั่งล่ะ

ทีนี้พอเราเริ่มพูดจารู้เรื่องขึ้นมาหน่อย คราวนี้ยังไงล่ะ ผู้หญิงคนนี้กลับขับไล่ไสส่งให้เราไปโรงเรียนซะอีก ไม่ไปก็ไม่ได้ด้วยนะ บางทีมีตีเราเข้าให้อีก ภาษาอะไรนักก็ไม่รู้ เอามาให้เราหัดอ่านหัดเรียนใช่มั้ย ลองคิดดูนะ สัปดาห์หนึ่งต้องไปโรงเรียนตั้งห้าวันน่ะ มันภาระหนักหนาแก่เราแค่ไหน
แต่พอถึงเวลาเราจะดูทีวี ดูหนังการ์ตูน นอนดึกขึ้นมาสักหน่อย ลองนึกย้อนไปสิ ใครกันเคี่ยวเข็ญให้เราไปนอนด้วย ตัวเองง่วงจะนอนคนเดียวก็ไม่ได้นะ ต้องบังคับให้เราไปนอนเป็นเพื่อนด้วย ใช่มั้ย ที่พูดนี่ไม่ใช่ลำเลิกหรอกนะ เพียงแค่อยากให้เห็นใจกันบ้างเท่านั้น

วันเวลาผ่านไป เราโตขึ้น แต่แม่ก็ยังไม่ยอมโตตามเราสักที ลูกอยากจะทำผมทำเผ้า แต่งเนื้อเเต่งตัวให้มันดูอินเทรนด์ ดูทันสมัย ใคร ใครกันเป็นตัวสกัดดาวรุ่ง พูดแล้วขนลุก ผู้หญิงคนนี้มีพัฒนาการไม่คืบหน้าไปไหนเลย ว่ามั้ย

โตขึ้นมาอีกนิด เราเริ่มกินอาหารได้ หล่อนก็เอาอะไรนักหนาไม่รู้ เละๆ เทะๆ มาบดให้เรากิน ไอ้เราจะไม่กินก็ไม่ได้ เดี๋ยวแม่จะน้อยใจ ก็เอาวะ เอาซะหน่อย เคี้ยวไปเเจ่บๆ อย่างนั้นแหละ แม่คุณก็ยิ้มปลื้ม คงนึกว่าเราอร่อยตายล่ะมั้งนั่นน่ะ กล้วยบดนะจ๊ะ เธอจ๋า ในปากฉันตอนนี้น่ะ ถ้าคิดว่ามันอร่อยขนาดนั้น ทำไมไม่ลองทานเองดูมั่งล่ะ แต่พอถึงเวลาเราจะดูทีวี ดูหนังการ์ตูน นอนดึกขึ้นมาสักหน่อย ลองนึกย้อนไปสิ ใครกันเคี่ยวเข็ญให้เราไปนอนด้วย ตัวเองง่วงจะนอนคนเดียวก็ไม่ได้นะ ต้องบังคับให้เราไปนอนเป็นเพื่อนด้วย ใช่มั้ย ที่พูดนี่ไม่ใช่ลำเลิกหรอกนะ เพียงแค่อยากให้เห็นใจกันบ้างเท่านั้น วันเวลาผ่านไป เราโตขึ้น แต่แม่ก็ยังไม่ยอมโตตามเราสักที ลูกอยากจะทำผมทำเผ้า แต่งเนื้อเเต่งตัวให้มันดูอินเทรนด์ ดูทันสมัย ใคร ใครกันเป็นตัวสกัดดาวรุ่ง พูดแล้วขนลุก ผู้หญิงคนนี้มีพัฒนาการไม่คืบหน้าไปไหนเลย ว่ามั้ย


 



 Image

 
พอเราสำเร็จจบการศึกษาเเล้วเป็นยังไง... เธอร้องไห้ครับ เชื่อเถอะว่าเธอต้องร้องไห้ ถ้าเราไม่เห็นก็แปลว่าเธอต้องแอบร้องไห้ มีอย่างที่ไหน เราคร่ำเคร่งร่ำเรียนมาแทบตาย แล้วตัวเองแท้ๆ ที่เป็นคนเริ่มเรื่อง พอเราเรียบจบแทนที่จะดีใจดันมาร้องไห้ มีอย่างที่ไหน
ดีนะว่าเราเข้าใจ คู่มือการเลี้ยงแม่ ก็เลยทำใจได้ ฝากเอาไว้ก่อนเถอะ ตอนนี้ขอไปฉลองการสำเร็จการศึกษากับพวกเพื่อนๆ ที่นอกบ้านก่อน ก็แหม เรียนจบทั้งที จะมาให้นั่งดูผู้หญิงแก่ๆ นั่งร้องไห้ทำไมล่ะ ใช่มั้ย

เป็นหนุ่มเป็นสาวกันแล้วนี่ คราวนี้ใครๆ ก็ต้องอยากมีแฟน คนโน้นก็ไม่ดี คนนี้ก็เรื่องมาก ผมยาวไปมั่งล่ะ ดูไม่มีความรับผิดชอบมั่งล่ะ...แม่ แม่จะไปรู้อะไร แม่เคยคบกับเขาเหรอ

ไม่ใช่แค่เรื่องคู่ครองเท่านั้นนะ แม่เขายังอยากรู้ไปจนถึงเรื่องอาชีพการงานด้วยว่าเราจะไปทำอะไร อยากเป็นอะไร
แม่ครับ แม่ไม่รู้สักเรื่องจะได้มั้ยพวกเราจะเป็นอะไรมันก็เรื่องของพวกเรา อนาคตของเรา ขอให้เราได้ตัดสินมันเอง แต่เรารับรองกับแม่ได้อย่างหนึ่งว่า เราจะไม่เป็นเหมือนแม่หรอก... เชย
นับจากบรรทัดแรก จนมาถึงบรรทัดนี้ เวลาก็ผ่านไปหลายปีแล้ว สมควรที่พวกเราจะแต่งงานมีครอบครัวเป็นของตนเองสักที ว่าแล้วเราก็ย้ายออกจากบ้านแม่ มายืนด้วยลำแข้งของตัวเอง อย่างที่แม่เคยพูดไง แล้วทำไมต้องมาทำตาละห้อยด้วยล่ะ วันที่เราย้ายออกมาน่ะ มันก็ไม่ได้ใกล้ มันก็ไม่ได้ไกลหรอกนะ ไอ้ที่ย้ายออกมาน่ะ แต่เวลามันรัดตัวจริงๆ ใช้โทร.คุยกันก็ได้นะแม่นะ
ถึงวันที่เรามีลูก แม่ยังพยายามอยากมาทำตัวเป็นภาระกับลูกเราด้วย เราบอกแม่ว่าไม่ต้องมายุ่งหรอก เราดูแลลูกของเราได้ เด็กสมัยนี้มันไม่เหมือนกับสมัยแม่แล้วล่ะ

แม่อายุเกือบหกสิบปีแล้ว โทร.มาไอแค่กๆ บอกไม่ค่อยสบาย เราบอกแม่ว่าอย่าคิดมาก ในใจเรารู้อยู่แล้วว่าแม่พยายามเรียกร้องความสนใจ นั่นเป็นพัฒนาการตามธรรมชาติของคุณแม่วัยนี้

จวบจนกระทั่งวันหนึ่ง คุณโทร.กลับไปที่บ้านแม่ แต่... ไม่มีคนรับสายแล้ว อย่าเพิ่งตกใจ แม่อาจจะออกไปทำบุญที่วัดตามประสาคนแก่ก็ได้ ลองโทร.เข้ามือถือแม่ดูซิ...ไม่มีสัญญาณตอบรับจากเลขหมายที่ท่านเรียก...
อย่าเพิ่งด่วนสรุป มือถือแม่อาจจะแบตหมดก็ได้ ผู้หญิงคนนี้กระดูกเหล็กจะตายไป เธอต้องไม่เป็นอะไรแน่ๆ คิดฟุ้งซ่านไปได้ ยังไงแม่ก็ต้องรอเราอยู่เหมือนเดิมน่ะแหละ ไปหาเมื่อไหร่ก็ต้องเจอ อย่างมากแกก็อาจจะงอนนิดๆ หน่อยๆ พอเห็นหลานตัวเล็กๆ วิ่งเข้าไปกอดก็ขี้คร้านจะอ่อนยวบเป็นขี้ผึ้ง หลายวันผ่านไป ทำไมแม่ยังไม่โทร.กลับมาอีกนะ ทำบุญตักบาตรก็ไม่น่าจะรอคิวนานขนาดนี้ ชาร์จแบตมือถือไม่เต็มก็เป็นไปไม่ได้ ต่อให้เป็นแบตเตอรี่รถสิบล้อป่านนี้ไฟทะลักแล้ว

วันนี้แวะไปหาแม่สักหน่อยดีกว่า ระหว่างทางที่คุณขับรถไป ลูกคุณซนเป็นลิงอยู่ข้างๆ ประโยคมากมายที่หลุดจากปากคุณ ล้วนเเต่เป็นคำที่แม่คุณเคยพูดมาแล้วทั้งสิ้น คุณเพิ่งสัมผัสได้ ภาพเก่าๆ มากมายที่ผู้หญิงคนนั้นทำวิ่งวนอยู่ในหัวคุณ ช่างเถอะ.. เดี๋ยวเจอเธอแล้ว คุณจะสารภาพผิด แล้วทำทุกอย่างให้มันดีขึ้น แล้วคุณก็ได้เจอ คนที่คุณรู้สึกว่าเธอเป็นภาระให้กับคุณมาตั้งแต่เกิด

ผู้หญิงคนนั้น นอนตายในท่าที่คอยคุณมาตลอดชีวิต... เรียงความเรื่องแม่เรียงความเรื่องแม่

วันพฤหัสบดีที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ทดสอบแทรกไฟล์วีดีโอ

น้ำท่วมกรุงเทพ  เป็นกำลังใจหั้ยคนกรุงเทพหย่อยคับ

ทดสอบสร้างลิงค์

อุทกภัยในประเทศไทย พ.ศ.2554อุทกภัยในประเทศไทย
Untitled Cocument๊Untited Document
Untitled Document

ชื่อ-สกุล

ชื่อ  นายนฤพล  ศรีคำ
ชื่อเล่น  พล
ที่อยู่   25  หมู่7  ตำบล  ชะรัด  อ.กงหรา  จ.  พัทลุง
เบอร์โทร์  0883969654

น้ำท่วมภาคใต้




ภาคใต้

จังหวัดที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย ได้แก่

[แก้]พังงา

วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2554 สมเกียรติ อินทรคำ หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดพังงา เปิดเผยว่า สถานการณ์โดยร่วมทั้งจังหวัดพังงา มี 36 ตำบล 220 หมู่บ้าน 4,070 ครัวเรือน ราษฎร 18,712 คน ได้รับความเดือดร้อน[104]

[แก้]ระนอง

ที่จังหวัดระนอง เกิดฝนตกหนักในพื้นที่อำเภอสุขสำราญ ตั้งแต่คืนวันที่ 24 สิงหาคม ทำให้น้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมบ้านเรือน และโรงเรียนดำรงค์ศาสน์ที่อยู่ริมคลองกำพวน พื้นที่หมู่ที่ 2, 3 และหมู่ที่ 5 รวมทั้งตลาดกำพวน และวัดสถิตย์ธรรมมาราม ด้านองค์การบริหารส่วนตำบลกำพวน ได้ส่งเจ้าหน้าที่เข้าช่วยเหลือผู้ประสบภัยเบื้องต้น
ชาสันต์ คงเรือง หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดระนอง เปิดเผยว่า หลายอำเภอในจังหวัดเกิดฝนตกหนักต่อเนื่อง ทำให้เกิดน้ำป่าไหลหลากหลายพื้นที่ ต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด ซึ่งได้ส่งเจ้าหน้าที่ลงไปแจ้งเตือนประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยให้เตรียมความพร้อมอพยพไปอยู่ในที่ปลอดภัยแล้ว[105]

[แก้]ชุมพร

พินิจ เจริญพานิช ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการบริหารสถานการณ์อุทกภัย วาตภัย ดินและหินถล่มจังหวัดชุมพร ได้มีหนังสือด่วนที่สุดถึงทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในพื้นที่จังหวัดชุมพร ประกาศเตือนภัย ช่วงวันที่ 27-30 ตุลาคม 2554 ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องถือปฏิบัติดังนี้ 1. แจ้งเตือนประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยได้ทราบ เตรียมการป้องกันระมัดระวังอันตราย ให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ ในช่วงเวลาดังกล่าว และให้ติดตามประกาศเตือนภัย จากกรมอุตุนิยมวิทยาอย่างใกล้ชิด 2. แจ้งเตือนชาวเรือเพิ่มความระมัดระวังอันตรายในการเดินเรือในช่วงดังกล่าว และห้ามเรือเล็กออกจากฝั่งในระยะนี้[106]

[แก้]นครศรีธรรมราช

วันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2554 หลังฝนตกหนักในหลายพื้นที่นานกว่า 3 วัน ทำให้เกิดน้ำท่วมขังแล้วในบางพื้นที่ อย่างเช่น ที่โครงการหมู่บ้านจัดสรรจามจุรี บ้านหนองตะลุมปุ๊ก หมู่ที่ 10 ตำบลหนองบัวศาลา อำเภอเมือง ที่เป็นพื้นที่ถูกน้ำท่วมซ้ำซากนานกว่า 4 ปี ฝนที่ตกลงมาอย่างหนักตลอดทั้งวานนี้ส่งผลทำให้เกิดน้ำท่วมภายในหมู่บ้านแล้วประมาณ 10 เซนติเมตร ขณะที่บริเวณถนนปากทางเข้าหมู่บ้านและพื้นที่โดยรอบมีน้ำท่วมขังสูงกว่า 35 เซนติเมตร โดยทางองค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัวศาลาใช้รถกระจายเสียงออกประกาศแจ้งเตือนให้ประชาชนที่อาศัยภายในหมู่บ้านเตรียมอพยพข้าวของไว้บนที่สูง และให้นำรถยนต์ขนาดเล็กออกมาจอดไว้ที่ริมถนนด้านหน้าหมู่บ้าน[107]

[แก้]สตูล

วันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2554 น้ำท่วมสตูลขยายวงกว้าง 4 อำเภอ ชาวบ้านเดือดร้อนกว่า 2 พันครัวเรือน อำเภอควนโดนประสบภัยหนักที่สุด บางหลังท่วมถึงหลังคาบ้าน ทหารและองค์การบริหารส่วนตำบลเร่งให้ความช่วยเหลือ สถานการณ์น้ำท่วมต่อมาได้ขยายวงกว้างแล้วเป็น 4 อำเภอ คือ อำเภอควนกาหลง ควนโดน ท่าแพและละงู โดยอำเภอควนโดนน้ำได้เข้าท่วมพื้นที่หมู่ 1, 2, 4, 5, 7 และ 9 โดยเฉพาะหมู่ 7 บ้านบูเก็ตยามู ระดับน้ำสูงเกือบ 2 เมตร บางจุดท่วมถึงหลังคาบ้าน ได้รับความเดือดร้อนกว่า 100 ครัวเรือน ทางทหารกองร้อย 5 พัน 2 และอส.ควนโดนได้นำเต้นท์ไปกางข้างถนนเพื่อให้ชาวบ้านได้ใช้อาศัยชั่วคราวขณะที่น้ำยังไหลทะลักเข้ามามากขึ้นเรื่อย ๆ ส่วนที่อำเภอท่าแพ น้ำได้ท่วมพื้นที่ตำบลท่าแพ หมู่ 2, 3, 4, 5, 6 และ 9 ชาวบ้านกว่า 700 ครัวเรือนได้รับความเดือนร้อน[108]

[แก้]สงขลา

วันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 ทางจังหวัดสงขลาได้ประกาศพื้นที่ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินเพิ่มเป็น 8 อำเภอ 42 ตำบล 276 หมู่บ้าน จากที่เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน ได้ประกาศ 5 อำเภอ[109] โดยมีราษฎรได้รับความเดือดร้อน 20,078 ครัวเรือน 4,983 คน อพยพ 459 คน แต่ระดับน้ำเริ่มลดลงอย่างต่อเนื่อง[110] วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2554 ที่พื้นที่บ้านคลองปอม ต.บ้านพรุ พื้นที่บ้านทุ่งลุง ต.พะตง ซึ่งอยู่ในเขต อ.หาดใหญ่ปรากฏว่าฝนตกกระหน่ำอย่างหนักและต่อเนื่องในช่วงบ่ายวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2554จนถึงขณะนี้วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2555 ก็ยังคงมีฝนตกลงมาอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้น้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมจนบ้านเรือน ทรัพย์สิน และภาคการเกษตรของประชาชนได้รับความเสียหายชนิดไม่ทันตั้งตัว[111]

[แก้]กระบี่

สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดกระบี่ออกประกาศเตือนให้ประชาชนระวังอันตรายจากฝนตกหนัก อาจเกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และดินถล่มได้ และงดเรือเล็กออกจากฝั่ง หลังฝนตกหนักในวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 [112] ทำให้ปริมาณน้ำในคลองกระบี่ใหญ่ ซึ่งเป็นคลองที่รับน้ำจากน้ำตกห้วยโต้ อุทยานแห่งชาติเขาพนมเบญจา ตำบลทับปริก อำเภอเมืองกระบี่ เพิ่มปริมาณอย่างรวดเร็ว น้ำเป็นสีโคลน พัดเอากิ่งไม้ ต้นไม้มาเป็นจำนวนมาก เรือประมงกว่า 100 ลำงดเดินเรือ[113] ซึ่งส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในจังหวัดกระบี่

[แก้]ภูเก็ต

ชัยรัตน์ สุขบาล รองนายกเทศมนตรีเมืองป่าตอง อำเภอกะทู้ กล่าวถึงสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ว่า ฝนที่ตกสะสมมาตั้งแต่ช่วงเย็นวานนี้ ต่อเนื่องมาจนถึงช่วงเช้าของวันที่ 25 สิงหาคม ส่งผลให้ถนนหลายสายของป่าตองประสบปัญหาน้ำท่วมขัง ประกอบกับน้ำทะเลหนุน ทำให้การระบายน้ำทำได้ยาก ทางเทศบาลฯ ได้ส่งเจ้าหน้าที่ลงไปแก้ปัญหาในการขุดลอกคลองและระบายน้ำในจุดต่าง ๆ มีน้ำไหลเข้าท่วมบ้านเรือน รวมถึงโรงพยาบาลป่าตองด้วย สำหรับสถานการณ์น้ำท่วมครั้งนี้ นับว่าหนักสุดในรอบ 8 ปี หลังเหตุการณ์สึนามิ พ.ศ. 2547 นอกจากนี้ ในพื้นที่ยังมีปัญหาดินสไลด์ ที่บริเวณถนน 50 ปี นอกจากนี้มีรายงานว่า ที่บริเวณหมู่ที่ 5 บ้านหัวควน ตำบลกมลา อำเภอกะทู้ น้ำท่วมขังบ้านเรือนประมาณ 10 หลัง น้ำท่วมสูงประมาณ 50 เซนติเมตร ทำให้ชาวบ้านต้องอพยพ[114]
ฝนตกหนักตั้งแต่คืนวันที่ 4 ตุลาคม ถึง 5 ตุลาคม ส่งผลให้หลายพื้นที่เกิดน้ำท่วมขังหลายจุด อาทิ ตำบลรัษฎา ตำบลฉลอง อำเภอเมือง และเขตเทศบาลเมืองป่าตอง อำเภอกะทู้ โดยที่หมู่บ้านพร้อมพันธ์ หมู่ที่ 6 ตำบลรัษฎา อำเภอเมือง มีน้ำท่วมขัง ประชาชนในหมู่บ้านเกือบ 200 หลังคาเรือนได้รับความเดือดร้อน น้ำท่วมสูง 50 เซนติเมตร เจ้าหน้าที่เทศบาลตำบลรัษฎา นำกระสอบทรายไปกั้น[115]

[แก้]ตรัง

วันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2554 ได้เกิดน้ำท่วมในอำเภอปะเหลียนและอำเภอย่านตาขาว หลังฝนตกหนักติดต่อกันนาน 2-3 วัน ประชาชนได้รับความเดือดร้อน 337 ครัวเรือน[116]
วันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 สถานการณ์น้ำท่วมจังหวัดตรัง ปริมาณน้ำยังท่วมสูงขึ้นในหลายหมู่บ้าน เพราะมีฝนตกลงมาเป็นระยะ เช่น หมู่ 7 ตำบลนาโยงใต้ ระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้น 20 เซนติเมตร ทำให้พื้นที่น้ำท่วมขยายวงกว้าง ชาวบ้านเดือดร้อนนับร้อยหลังคาเรือน บางจุดระดับน้ำสูงถึง 2 เมตร จนต้องอพยพไปอาศัยเต็นท์ริมถนนแทน ส่วนพื้นที่การเกษตร ตำบลนาโยงใต้และนาบินหลาถูกน้ำท่วมไปแล้วกว่า 500 ไร่[117]
สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดตรัง สรุปสถานการณ์น้ำท่วมหลังจากที่เกิดฝนตกลงมาอย่างหนักติดต่อกัน ตั้งแต่วันที่ 21 พฤศจิกายน รวมระยะเวลา 5 วัน ว่า มีรายงานน้ำท่วมขังในพื้นที่ตำบลลำภูรา อำเภอห้วยยอด ระดับน้ำโดยเฉลี่ยสูงประมาณ 20-70 เซนติเมตร ส่วนใหญ่เป็นบ้านเรือนที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ราบลุ่มติดกับคลองลำภูรา ซึ่งเชื่อมต่อกับแม่น้ำตรัง
สรุปสถานการณ์น้ำท่วมขังในจังหวัดตรังล่าสุด พบว่า มีพื้นที่ได้รับผลกระทบแล้ว 7 หมู่บ้าน 3 ตำบล 2 อำเภอ คือ อำเภอห้วยยอด จำนวน 129 ครัวเรือน และอำเภอเมืองตรัง จำนวน 55 ครัวเรือน รวมชาวบ้านประสบภัย 184 ครัวเรือน[118]

[แก้]ปัตตานี

วันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 น้ำท่วมใน 12 อำเภอของจังหวัดปัตตานี รวม 219 หมู่บ้าน 59 ตำบล ประชาชนได้รับผลกระทบกว่า 3,000 ครัวเรือน จังหวัดปัตตานีได้ประกาศพื้นที่ประสบภัยพิบัติ 1 อำเภอ คือ อำเภอเมือง[119] ในหลายพื้นที่ ประชาชนต้องอพยพขึ้นไปอาศัยในเต็นท์บนถนนที่ทางหน่วยราชการจัดไว้ให้ ทั้งนี้ระดับน้ำได้ท่วมสูงเกือบ 2 เมตร [120] หลายโรงเรียนต้องปิดการเรียนการสอน
วันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดปัตตานี ประกาศให้พื้นที่ทั้งจังหวัดเป็นพื้นที่เกิดภัยพิบัติ เพราะน้ำเหนือจากจังหวัดยะลายังไหลลงสูงแม่น้ำปัตตานี และแม่น้ำสายบุรีอย่างต่อเนื่อง ทำให้น้ำได้ล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่ราบลุ่ม ประชาชนได้รับความเดือดร้อนหลายพันครัวเรือน ซึ่งขณะนี้หลายหน่วยงานเร่งเข้าให้ความช่วยเหลือ สรุปพื้นที่เกิดภัยพิบัติทั้ง 12 อำเภอ รวมทั้งสิ้น 60 หมู่บ้าน 247 ตำบล ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 59,784 คน 14,125 ครัวเรือน ส่วนพื้นที่ติดแม่น้ำทั้งสองสายยังมีระดับน้ำอยู่ที่ 1-2 เมตร[121]

[แก้]ยะลา

วันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 ในพื้นที่จังหวัดยะลา ฝนตกหนักติดต่อกันทำให้น้ำเอ่อล้นหลายพื้นที่ ทำให้ราษฎรได้รับความเดือดร้อนกว่า 200 ครัวเรือน และมีผู้เสียชีวิตจากการถูกน้ำพัดแล้วจำนวน 2 ราย[122]
วันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 แวโรจน์ สายทองแท้ หัวหน้างานปกป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดยะลา กล่าวว่า ระยะนี้ เกิดฝนตกหนักอย่างต่อเนื่องในพื้นที่ภาคใต้ โดยเฉพาะภาคใต้ฝั่งตะวันออก ทำให้น้ำในแม่น้ำปัตตานีและสายบุรีเอ่อล้นท่วมบ้านเรือนที่อยู่ริมชายฝั่งและเกิดน้ำท่วมในพื้นที่ราบลุ่มในเขตเทศบาลนครยะลา และในพื้นที่ หมู่ 3 ตำบลสะเตงนอก อำเภอเมืองยะลา มีประชาชนได้รับความเดือดร้อนเพิ่มเป็น 1,000 ครัวเรือน[123] วันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 ศูนย์อำนวยการแก้ปัญหาอุทกภัย จังหวัดยะลา สรุปมี 5 อำเภอประสบปัญหาน้ำท่วมแล้ว ขณะที่ประชาชนเดือดร้อนกว่า 2 หมื่นคน[124]

[แก้]นราธิวาส

วันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 ธนน เวชกรกานนท์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่มจังหวัดนราธิวาส ได้ประกาศให้พื้นที่ทั้งจังหวัดเป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติ อย่างไรก็ตาม ศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจฯ รายงานสถานการณ์อุทกภัยที่เกิดขึ้นในพื้นที่จังหวัดนราธิวาสว่า มีพื้นที่เดือดร้อน 63 ตำบล 221 หมู่บ้าน มีผู้ประสบภัย 48,583 คน รวม 13,473 ครัวเรือน เจ้าหน้าที่ได้อพยพชาวบ้าน 82 ครัวเรือน 388 คน นอกจากนี้ ในพื้นที่อำเภอจะแนะ มีผู้เสียชีวิตเนื่องจากมีโรคประจำตัวและยืนแช่น้ำเป็นเวลานานอีก 1 ราย[125]

[แก้]พัทลุง

วันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 จังหวัดพัทลุงยังมีฝนตกหนักทั้งจังหวัด ทำให้น้ำป่าจากเทือกเขาบรรทัดไหลเข้าท่วมบ้านเรือนอย่างต่อเนื่อง ระดับน้ำสูง 0.8-1 เมตร ถนนหลายสายรถเล็กไม่สามารถผ่านได้ บางเส้นเฉพาะเรือเท่านั้นที่ผ่านได้ ขณะที่พื้นที่โซนล่างริมทะเลสาบสงขลาในอำเภอเขาชัยสน, บางแก้ว, ปากพะยูน และควนขนุน ซึ่งเป็นพื้นที่รับน้ำเหนือจากเทือกเขาบรรทัด หลายหมู่บ้านน้ำท่วมสูงจนชาวบ้านต้องใช้เรือสัญจร[126] เวลา 13.00 น. ธนกร ตะบันพฤกษ์ หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดพัทลุง ได้สรุปรายงานสภาพน้ำท่วมในจังหวัด พบว่าทุกพื้นที่ยังมีฝนตกหนักต่อเนื่องและมีน้ำท่วมเป็นวงกว้างทุกอำเภอ ทางจังหวัดประกาศให้ทุกอำเภอเป็นเขตภัยพิบัติฉุกเฉินแล้ว [127]
วันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 น้ำได้เข้าท่วมถนนเอเซียขาขึ้นพัทลุง-หาดใหญ่ โดยน้ำท่วมถนนระยะทางประมาณ 700 เมตร และมีชาวบ้านจมน้ำเสียชีวิต 1 คน ขณะที่ตำบลฝาละมี อำเภอปากพะยูนถูกระบุว่าเป็นพื้นที่ประสบอุทกภัยบริเวณกว้างและร้ายแรง[128]
วันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 กันภัย พลพงษ์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลฝาละมี กล่าวว่า พื้นที่ตำบลฝาละมี มี 11 หมู่บ้าน 3,170 ครัวเรือน ประชากร 10,585 คน และในวันที่ 21-24 พฤศจิกายน มีฝนตกหนักน้ำได้ไหลเข้าท่วมในพื้นที่หมู่ 3, 4, 6, 7 และ 8 ทางสำนักงานฯ ได้รับรายงานมีผู้เสียชีวิตแล้ว 2 ราย[129]
วันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2554 สถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่จังหวัดพัทลุงยังคงน่าเป็นห่วง โดยฝนที่ตกลงมาอย่างหนักและต่อเนื่อง ทำให้น้ำป่าจากเทือกเขาบรรทัดได้ไหลทะลักท่วมในพื้นที่อำเภอกงหรา, อำเภอตะโหมด, อำเภอศรีบรรพต, อำเภอเมือง, อำเภอเขาชัยสน, อำเภอศรีนครินทร์, อำเภอบางแก้ว และอำเภอป่าพะยอม ทำให้บ้านเรือนราษฎร พื้นที่การเกษตร สวนยางพาราและนาข้าวจมอยู่ใต้น้ำ ถนนหลายสายมีน้ำท่วมสูง ชาวบ้านกว่า 30,000 ครัวเรือนได้รับความเดือดร้อน[130]

[แก้]สุราษฎร์ธานี

ธีระยุทธ เอี่ยมตระกูล ผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี เปิดเผยว่า จากเหตุการณ์ฝนตกหนักน้ำป่าไหลหลากและคลื่นลมแรง ตั้งแต่วันที่ 20-26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 มีพื้นที่ประสบความเสียหายทั้งสิ้น 6 อำเภอ โดยทางสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดสุราษฎร์ธานี สรุปความเสียหายล่าสุด มีชาวบ้านได้รับความเดือดร้อน 26 ตำบล 143 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 18,979 ครัวเรือน 56,168 คน พื้นที่การเกษตรเสียหาย 259 ไร่ ถนนชำรุด 35 สาย คอสะพาน 14 แห่ง ท่อระบายน้ำ 60 แห่ง วัดเสียหาย 3 แห่ง บ่อปลา 5 บ่อ มูลค่าความเสียหายในเบื้องต้น 27 ล้านบาท[131]
วันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554 ผู้ประกอบการบริเวณชายหาดเฉวงได้ติดธงแดงห้ามนักท่องเที่ยวลงเล่นทะเลเพราะคลื่นลมแรง และเตือนห้ามเรือเล็กออกจากฝั่ง ประเสริฐ จิตมุ่ง นายอำเภอเกาะสมุย ได้สั่งการให้ปลัดอำเภอร่วมกับศูนย์อนุรักษ์จัดตั้งศูนย์เฝ้าระวังดูนักท่องเที่ยวบริเวณเกาะเฉวง และจัดตั้งศูนย์เตรียมการป้องกันอุทกภัย ณ ที่ว่าการอำเภอ เกาะสมุย[132]